การเลือกใช้ไอซีประเภท Current-Sense Amplifier (CSA) สำหรับการวัดกระแสในวงจรไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์#

Keywords: Current-Sense Amplifier, Current Shunt Monitor, Differential Amplifier


▷ การวัดกระแส (Current Measurement)#

การวัดกระแสไฟฟ้าในวงจร มีหลายวิธี ได้แก่

  • การวัดโดยใช้หลักการของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Field): ใช้เซนเซอร์แบบ Hall Effect ซึ่งให้เอาต์พุตเป็นแรงดันไฟฟ้าที่แปรผันตามปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านขดลวดหรือสายไฟ
  • การวัดโดยตรงในวงจร (Direct Current Sensing) โดยวัดแรงดันตกคร่อมตัวต้านทาน: เป็นการวัดแรงดันตกคร่อมที่เกิดขึ้นบนตัวต้านทานที่มีกระแสไหลผ่าน ซึ่งเรียกว่า Current-Sense Resistor หรือ Shunt Resistor
    • วิธีนี้ต้องใช้วงจรที่สามารถแปลงแรงดันไฟฟ้าอินพุตแบบ Differential (ซึ่งเป็นแรงดันตกคร่อมที่ตัวต้านทาน) ให้เป็นแรงดันไฟฟ้า-เอาต์พุต และใช้วงจรที่เรียกว่า Current-Sense Amplifier (CSA)
    • แรงดันเอาต์พุตสามารถนำไปใช้งานร่วมกับวงจรอื่น เช่น ADC (Analog-to-Digital Converter)
    • หากกระแสไฟฟ้ามีค่าต่ำมาก ต้องใช้วงจรขยายสัญญาณ เพื่อให้แรงดันอยู่ในช่วงที่เหมาะสมสำหรับการประมวลผล
    • หากกระแสไฟฟ้ามีปริมาณมาก ควรเลือกตัวต้านทานที่มีค่าความต้านทานต่ำ เพื่อลดการสูญเสียพลังงานในรูปของความร้อน (การสูญเสียพลังงานคิดจากสูตร: )

วัตถุประสงค์ของการตรวจจับและวัดกระแสไฟฟ้าในวงจรอิเล็กทรอนิกส์

  • เพื่อทราบปริมาณกระแสที่ไหลผ่านโหลด ซึ่งหากกระแสมีค่ามากเกินไป อาจทำให้เกิดความร้อนสูงหรือความเสียหายต่อวงจรไฟฟ้า
  • เพื่อประเมินระดับการใช้พลังงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้งานแบบ Low-Power Applications

▷ วงจรตรวจจับสัญญาณและขยายกระแส (Current-Sense Amplifiers: CSA)#

  • การวัดปริมาณกระแสไฟฟ้าโดยตรง โดยใช้ตัวต้านทานที่มีค่าความต้านทานต่ำ มักอาศัยวงจรที่เรียกว่า Current-Sense Amplifiers (CSA) เพื่อทำหน้าที่ขยายแรงดันตกคร่อมที่เกิดขึ้นบนตัวต้านทานซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำมาก และทำให้ได้สัญญาณเอาต์พุตในช่วงกระแสหรือแรงดันที่ต้องการ
  • วงจรพื้นฐานของ CSA ประกอบด้วย "ตัวขยายสัญญาณแบบต่างศักย์" หรือ เรียกว่า วงจรขยายสัญญาณแบบ "ดิฟเฟอเรนเชียล" (Differential Amplifier) ซึ่งมีหลักการทำงานคล้ายคลึงกับวงจรภายในของ Operational Amplifier (Op-Amp) โดยเน้นการตรวจจับและขยายความต่างศักย์ระหว่างขาอินพุตสองขา
  • จุดประสงค์หลักคือ การวัดแรงดันตกคร่อมที่เกิดขึ้นบนตัวต้านทานตรวจจับกระแส () ซึ่งมีค่าความต้านทานต่ำมาก เช่น 0.1Ω หรือ 0.05Ω เป็นต้น
  • เมื่อมีกระแสไฟฟ้า (ใช้สัญลักษณ์ หรือ ) ไหลผ่าน ไปยังโหลด จะเกิดแรงดันตกคร่อมที่สองขาของตัวต้านทาน โดยใช้สัญลักษณ์ และ เป็นแรงดันที่ปลายทั้งสองของตัวต้านทาน ตามลำดับ
    • ผลต่างแรงดันคือ และ CSA ทำหน้าที่ขยายผลต่างแรงดันนี้ เพื่อให้ได้แรงดันเอาต์พุตที่สามารถนำไปใช้งานได้ เช่น อินพุตของ ADC หรือไมโครคอนโทรลเลอร์
    • วงจร Differential Amplifier สามารถสร้างได้โดยใช้ไอซี Op-Amp หรือ Instrumentation Amplifier เป็นพื้นฐาน ซึ่งเป็นวงจรที่มีค่า Common-Mode Rejection Ratio สูงมาก
    • ไอซีประเภท CSA ถูกใช้อย่างแพร่หลายในระบบจัดการพลังงาน เช่น การวัดกระแสโหลด และ การตรวจสอบการชาร์จแบตเตอรี่ เป็นต้น

ตำแหน่งของตัวต้านทานตรวจจับกระแส (Current-Sense Configuration) แบ่งเป็น 3 กรณี ได้แก่:

  • Low-Side Current Sensing:
    • เป็นการต่อตัวต้านทานตรวจวัดกระแส ระหว่างโหลดกับกราวด์
    • ข้อดี: วงจรอ่านสัญญาณมีระดับแรงดันต่ำและง่ายต่อการออกแบบวงจร
    • ข้อเสีย: กราวด์ของโหลดไม่ได้ต่อตรงกับกราวด์ของระบบ
  • High-Side current sensing:
    • เป็นการต่อตัวต้านทานตรวจวัดกระแส ระหว่างแหล่งจ่ายแรงดันกับโหลด ต้องใช้ CSA ที่มีความสามารถในการรับช่วงแรงดันอินพุตแบบ Common-Mode Voltage ได้สูง
    • ข้อดี: กราวด์ของโหลดต่อตรงกับกราวด์ของระบบ
    • ข้อเสีย: วงจรมีความซับซ้อนมากกว่าและต้องใช้ไอซีที่รองรับแรงดันโหมดร่วม (Common-Mode Voltage) ระดับสูง
  • In-Line Current Sensing:
    • เป็นการต่อตัวต้านทานตรวจวัดกระแสแบบอนุกรมในสายไฟ
    • โดยมักใช้ในระบบที่มีสายไฟแยกหลายเส้น เช่น มอเตอร์สามเฟส

รูป: การวัดกระแสโดยวงจร CSA แบบ Low-Side (ซ้าย) และ High-Side (ขวา)

ในปัจจุบันมีหลายบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายไอซีประเภท Current-Sensor Monitor เช่น

  • Linear Technology / Maxim / Analog Devices Inc. (ADI)
  • Texas Instruments (TI)
  • STMicroelectronics
  • Renesas Electronics
  • ROHM Semiconductor
  • Microchip Technology
  • ONsemi
  • Infineon
  • Silergy
  • SGMICRO

รูป: ไอซี MAX437x สำหรับการวัดกระแสแบบ High-Side (Image Source: Maxim / Analog Devices)

รูป: ไอซี TSC101 สำหรับการวัดกระแสแบบ High-Side (Image Source: STMicrolectronics)

รูป: ไอซี INA210 สำหรับการวัดกระแสแบบ High-Side (Image Source: Texas Instruments)

รูป: ไอซี INA181 สำหรับการวัดกระแสแบบ Low-Side (Image Source: Texas Instruments)

รูป: ไอซี INA226 เชื่อมต่อด้วยบัส I2C (Image Source: Texas Instruments)

รูป: ไอซี ISL28006 ที่สามารถใช้วัดกระแสได้ทั้งแบบ Low-Side หรือ High-Side (Image Source: Renesas Electronics)

 


▷ แนวทางการเลือกใช้ไอซี CSA - Current Sense Monitor#

  • รูปแบบหรือตำแหน่งการต่อตัวต้านทานตรวจวัดกระแส (Measurement Topology): มี 3 กรณีหลัก ดังนี้
    • High-side Measurement: การต่อตัวต้านทานตรวจวัดกระแส ระหว่างแหล่งจ่ายไฟและโหลด ซึ่งช่วยให้สามารถตรวจจับกระแสที่ไหลเข้าสู่โหลดได้ทั้งหมด ข้อดีคือสามารถตรวจจับกระแสทั้งหมดที่ไหลเข้าโหลด แต่ต้องใช้ไอซีที่สามารถทนต่อแรงดัน Common-Mode สูงได้
    • Low-side Measurement: การต่อตัวต้านทานตรวจวัดกระแส ระหว่างโหลดและกราวด์ ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและราคาถูกกว่าในการออกแบบ
    • In-Line Measurement: การต่อตัวต้านทานตรวจวัดกระแส ในสายที่เชื่อมต่อระหว่างแหล่งจ่ายไฟและโหลด ซึ่งเหมาะสำหรับการตรวจวัดกระแสในวงจรที่ไม่ต้องการแยกแหล่งจ่ายไฟออกจากกัน
  • ทิศทางการไหลของกระแส (Current Flow Direction): สามารถจำแนกได้เป็น 2 กรณีตามทิศทางของการไหลของกระแส:
    • Unidirectional Current วัดกระแสที่ไหลในทิศทางเดียว เช่น การวัดกระแสที่ไหลจากแหล่งจ่ายไฟไปยังโหลด
    • Bidirectional Current วัดกระแสที่สามารถไหลได้ทั้งสองทิศทาง เช่น การวัดกระแสที่อาจไหลย้อนกลับจากโหลดไปยังแหล่งจ่ายไฟ
  • ประเภทของสัญญาณเอาต์พุต (Output Type): สามารถมีเอาต์พุตหลายประเภท ขึ้นอยู่กับการใช้งาน:
    • เอาต์พุตแบบแอนะล็อก:
      • Current Output เอาต์พุตเป็นกระแสที่แปรผันตามกระแสที่ไหลผ่านตัวต้านทานตรวจจับกระแส และในการใช้งานไอซีที่มีเอาต์พุตแบบนี้ จะต้องกับตัวต้านทานที่ขาเอาต์พุตไปยังกราวด์
      • Voltage Output เอาต์พุตเป็นแรงดันไฟฟ้าที่แปรผันตามแรงดันตกคร่อมที่ตัวต้านทานตรวจจับกระแส โดยทั่วไปจะเป็นเอาต์พุตแบบมีบัฟเฟอร์ และมีเอาต์พุต-อิมพีแดนซ์ต่ำ
      • ยกตัวอย่าง: ไอซี MAX4173 เป็นแบบ Voltage Output แต่ MAX4172 เป็นแบบ Current Output
      • อาจมีขาอินพุตสำหรับปิดการใช้งานขาเอาต์พุต (Output Enable Pin) เพื่อประหยัดพลังงาน หากไม่ได้ใช้งานตลอดเวลา
      • ในกรณีที่ให้แรงดันเอาต์พุต สามารถจำแนกออกเป็น 2 ตัวเลือก: Single-ended (เอาต์พุตอ้างอิงกับกราวด์) ซึ่งเป็นประเภทที่พบเห็นได้บ่อย และ Differential Output (เอาต์พุตเป็นแรงดันสองขั้ว VOUT+ และ VOUT-) ซึ่งเหมาะกับการส่งสัญญาณระยะไกลหรือลดสัญญาณรบกวน
    • เอาต์พุตแบบดิจิทัล:
      • มีวงจร ADC รวมอยู่ในไอซี เพื่อแปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นดิจิทัล
      • ใช้วิธีสื่อสารข้อมูลผ่านบัส เช่น I2C
      • อาจมีขาดิจิทัลเอาต์พุตสำหรับฟังก์ชันพิเศษ เช่น การเปรียบเทียบและแจ้งเตือน เมื่อกระแสสูงเกินกว่าระดับที่กำหนดไว้ (Over-Current Detection & Alert)
  • สำหรับไอซีที่ทำงานแบบดิจิทัล ก็มีประเด็นที่ควรพิจารณาต่อไปนี้
    • รูปแบบการสื่อสารข้อมูลและโหมดการทำงานด้วยบัส I2C เช่น ความถี่สูงสุดของสัญญาณ Serial Clock การตั้งค่าแอดเดรสของอุปกรณ์
    • ความละเอียด หรือ จำนวนบิต (ADC Resolution) ของข้อมูลที่ได้
    • อัตราการแปลงสัญญาณแอนะล็อกเป็นข้อมูลดิจิทัล (Samples / sec)
  • การตั้งค่าอัตราขยายแรงดันตกคร่อมที่ขั้วอินพุต (Gain Setting / Selection): สามารถทำได้หลายวิธี:
    • External Resistors ใช้ตัวต้านทานภายนอก เพื่อกำหนดค่า Gain ตามที่ต้องการและอยู่ในช่วงที่เหมาะสม
    • Internal Resistors ใช้ตัวต้านทานภายใน ซึ่งมีความแม่นยำสูง ความคลาดเคลื่อนต่ำ (Low-Drift) และตั้งค่ามาจากโรงงาน
      • แบบอัตราขยายคงที่ (Fixed Gain) บางบริษัทจะมีไอซีรุ่นย่อย ให้เลือกใช้ตามค่า Gain
      • แบบโปรแกรมเลือกค่าได้ (Programmable Gain) ซึ่งมีการตั้งค่าขยายแรงดันในตัวโดยไม่ต้องใช้ตัวต้านทานภายนอก
  • ขาแรงดันอ้างอิงสำหรับแรงดันเอาต์พุต (Reference Voltage Pin: )
    • ใช้ปรับระดับแรงดันศูนย์กลางเอาต์พุต (Mid-Range Voltage) หรือ กำหนดช่วงแรงดันเอาต์พุตได้ ในกรณีที่วัดกระแสได้ทั้งสองทิศทาง
    • ยกตัวอย่างเช่น
  • จำนวนช่องสัญญาณ
    • โดยทั่วไปจะมีช่องสัญญาณเอาต์พุต และหนึ่งคู่สัญญาณอินพุต (Single-Channel)
    • ไอซีบางรุ่น มีมากกว่าหนึ่งช่องสัญญาณ เช่น Dual-Channel หรือ Quad-Channel เป็นต้น
  • ตัวถัง (IC Package) ขาแรงดันไฟเลี้ยง และขาสัญญาณ (I/O Pins)
    • เช่น SOT23-6 หรือ SO-8 เป็นต้น
  • ความเสถียรต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิแวดล้อม
    • ควรเลือกอุปกรณ์ที่มี Low Offset Drift และ Low Gain Drift เพื่อให้ค่ากระแสที่วัดได้มีความแม่นยำในช่วงอุณหภูมิกว้าง

▷ พารามิเตอร์ทางไฟฟ้าที่สำคัญสำหรับ CSA#

ในการเลือกใช้งาน CSA ควรทำความเข้าใจพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าต่อไปนี้ ซึ่งมักพบได้บ่อยเกี่ยวกับไอซีสำหรับสัญญาณแอนะล็อก:

  • ข่วงแรงดันไฟเลี้ยง (Supply Voltage: หรือ ) สำหรับการทำงานของไอซีและวงจรภายใน:
    • เช่น +2.7V ~ +5.5V หรือ +2.7V ~ +36V เป็นต้น
    • ถ้าต้องการใช้งานแบบ Low-Power ก็อาจรองรับแรงดันไฟเลี้ยงในระดับต่ำ (ต่ำกว่า 3V) เช่น +3.0V, +2.7V หรือต่ำกว่า เป็นต้น
    • ไอซีบางรุ่น ไม่มีขาแรงดันไฟเลี้ยง แต่ใช้ขา VIN+ สำหรับเป็นแรงดันไฟเลี้ยงภายใน
  • ปริมาณการใช้กระแส (Supply Current: )
    • สำหรับการทำงานในลักษณะ Low-Power ค่า ควรอยู่ในระดับต่ำ เช่น ในช่วง 10μA - 100μA
    • บางกรณีก็ระบุเป็นพารามิเตอร์ Quiescent Current () มีหน่วยวัดเป็น μA โดยมีเงื่อนไขในการทดสอบคือ
  • ช่วงแรงดันโหมดร่วม (Common-Mode Voltage Range: ):
    • แบ่งเป็น2 กรณี: รองรับช่วงแรงดันเฉพาะช่วงที่เป็นบวกเท่านั้น หรือ รองรับช่วงแรงดันที่เป็นลบด้วย
    • ช่วงแรงดันอินพุตโหมดร่วม (Common-Mode) ส่งผลต่อความแม่นในการขยายสัญญาณเอาต์พุต โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการวัดแบบ High-side
    • โดยทั่วไป ไอซี CSA สำหรับ High-Side Sensing สามารถรองรับแรงดัน Common-Mode ได้สูงกว่าแรงดันไฟเลี้ยง บางรุ่นมีช่วง ได้สูงถึง 30V, 80V หรือ 100V
  • อัตราขยายแบบเต็มสเกล (Full-Scale Gain) และความแม่นของการขยาย (Gain Accuracy):
    • อัตราการขยายเต็มสเกลของแรงดันตกคร่อมที่ขั้วอินพุต ซึ่งเป็นตัวระบุความสามารถในการขยายสัญญาณแอนะล็อกอินพุต ให้มีขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งานที่ต้องการ
    • Full-Scale Gain หมายถึงค่าอัตราขยาย ที่ใช้กับสัญญาณอินพุตสูงสุดที่ยังอยู่ในช่วงเชิงเส้นของวงจรขยายสัญญาณ
    • Gain Accuracy มักแสดงเป็นตัวเลข % เช่น ±0.5% หรือ ±0.1% (ดีกว่า) ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความแม่นของการวัดกระแสหรือแรงดัน และก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม อย่างเช่น อุณหภูมิ
    • เอาต์พุตที่เป็นแรงดันไฟฟ้า: และ = Voltage Gain มีหน่วยเป็น V/V
    • เอาต์พุตที่เป็นกระแสไฟฟ้า: และ = Transconductance ("ทรานส์คอนดักแตนซ์") มีหน่วยเป็น µA/V หรือ mA/V และเรียกวงจรประเภทนี้ว่า Trans-conductance Amplifer
    • หากเอาต์พุตเป็นกระแสไฟฟ้า ก็สามารถแปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าได้ โดยการต่อกับตัวต้านทาน เชื่อมต่อระหว่างขาเอาต์พุตกับกราวด์ของวงจร:
  • การเลือกอัตราขยาย (Gain Selection)
    • เลือกตามไอซีสมาชิกในซีรีย์ของไอซี ซึ่งมีค่าอัตราขยายคงที่ แตกต่างกันตามค่าตัวต้านทานที่ใช้
    • บางรุ่นโปรแกรมเลือกค่าได้ เช่น ผ่านทางบัส I2C
  • แรงดันอินพุตออฟเซต หรือ แรงดันออฟเซตที่ขาอินพุต (Input Offset Voltage: ):
    • ค่าแรงดันผิดพลาดที่เกิดขึ้นแม้ไม่มีแรงดันต่างระหว่างขสอินพุต และส่งผลต่อความแม่นยำในการวัดกระแสที่ต่ำ
    • ในวงจรขยายเชิงอุดมคติ แรงดันออฟเซตระหว่างขาอินพุตบวกและลบจะเป็นศูนย์โวลต์ (0V) เมื่อมีแรงดันที่เหมือนกันป้อนเข้าสู่ขาอินพุต จะไม่สร้างแรงดันเอาต์พุตใด ๆ
    • ในวงจรจริง แรงดันออฟเซตนี้ทำให้เกิดแรงดันเอาต์พุตแม้ไม่มีความต่างแรงดันระหว่างขาอินพุต แรงดันออฟเซตนี้จะถูกคูณด้วยอัตราขยาย และส่งผลโดยตรงต่อแรงดันเอาต์พุต
    • อธิบายโดยใช้สมการต่อไปนี้:
    • ค่า ควรอยู่ในระดับต่ำมาก อยู่ในระดับไมโครโวลต์ (µV) เช่น 10µV ~ 100µV หรือต่ำกว่า
    • แรงดันออฟเซตที่ขาอินพุตมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ เรียกการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า "อัตราการลอยตามอุณหภูมิ" (Temperature Drift)"
  • ช่วงแรงดันอินพุตสูงสุดสำหรับการตรวจจับกระแส (Max. Sense Voltage) เช่น 100mV หรือ 250mV เป็นต้น
  • กระแสไบแอส-อินพุต (Input Bias Current: และ ):
    • กระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าสู่ หรือ ออกจากขั้วอินพุต IN+ และ IN- ของวงจร ทิศทางขึ้นอยู่กับการทำงานและการต่อวงจรภายนอก
    • คำนวณได้จากค่าเฉลี่ย:
    • กระแสไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (ในระดับนาโนแอมป์ถึงไมโครแอมป์) ที่ไหลเข้าหรือออกจากขาอินพุต (IN+ และ IN−) ของวงจร CSA
  • กระแสออฟเซตอินพุต (Input Offset Current: ):
    • กระแสที่เกิดจากความแตกต่างของกระแสไบแอสระหว่างขาอินพุตบวกและลบ
    • ค่านี้บ่งบอกถึงความไม่สมดุลของการไหลของกระแสในอุปกรณ์ และอาจส่งผลต่อแรงดันอินพุตออฟเซตของวงจรด้วย
  • อัตราการปฏิเสธสัญญาณโหมดร่วม (Common-Mode Rejection Ratio: CMRR):
    • วงจร CSA ทำหน้าที่ขยายสัญญาณโหมดต่าง และขจัดสัญญาณโหมดร่วมออก
    • CMRR เป็นตัวบ่งชี้ความสามารถในการกรองสัญญาณโหมดร่วม หรือตัดส่วนที่มีความเหมือนกันในสัญญาณอินพุตทั้งสองออกจากเอาต์พุต
    • หากมีค่า CMRR อยู่ในระดับสูง จะช่วยให้สามารถแยกสัญญาณผลต่างออกจากสัญญาณโหมดร่วมได้ดี
    • CMRR คำนวณได้จาก อัตราขยายโหมดผลต่าง () และ อัตราขยายโหมดร่วม ():
      • CMRR =
      • เช่น และ จะได้ CMRR = 80dB
  • แบนด์วิดท์ (Bandwidth):
    • มักระบุเป็นค่าความถี่ ซึ่งหมายถึง ความถี่ (Hz) ที่ทำให้ค่า Gain ลดลงจากค่าสูงสุดลงมา 3dB" (หรือลดลงเหลือประมาณ 0.707 เท่าของค่าสูงสุด)
    • ช่วงความถี่ที่ CSA สามารถตอบสนองได้ดี ซึ่งมีผลต่อการวัดกระแสในสัญญาณที่มีความถี่สูง หรือมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
    • สัญญาณอินพุตที่มีความถี่สูงจะส่งผลต่ออัตราขยายที่ลดลง แบนด์วิดท์ของวงจร CSA มีผลอย่างมากต่อการตรวจจับกระแสที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

▷ ตัวอย่างไอซีวัดกระแส (Current Monitor IC)#

ไอซีที่ได้เลือกมานำเสนอเป็นตัวอย่างต่อไปนี้ มีโมดูลในลักษณะ Breakout Board ให้เลือกใช้และสะดวกต่อการใช้งาน เนื่องจากตัวถังของไอซี มีขนาดเล็กและเป็นแบบ SMD แนวทางในการเปรียบเทียบ ได้แก่

  • การวัดกระแส: วัดแบบ high-side เท่านั้น หรือ ได้ทั้ง high-side และ low-side
  • ทิศทางของกระแส: ได้ทิศทางเดียว (uni-directional) หรือ ได้ทั้งสองทิศทาง (bidirectional)
  • เอาต์พุต: แรงดันไฟฟ้า หรือ กระแสไฟฟ้า หรือทำงานแบบดิจิทัล
  • ช่วงแรงดัน Common-Mode และการใช้แรงดันไฟเลี้ยงแยกกันแบบอิสระ
  • สำหรับการทำงานแบบดิจิทัล
    • ตัวเลือกสำหรับความละเอียดของ ADC ช่วงจำนวนบิตที่เลือกใช้ได้ ความเร็วในการแปลงข้อมูลของ ADC
    • ความละเอียดของข้อมูลต่อ 1 LSB สำหรับปริมาณทางไฟฟ้าที่วัดได้ เช่น กระแส และ แรงดัน
    • รูปแบบโปรแกรมเพื่อเขียนหรืออ่านค่าในรีจิสเตอร์ได้ และเชื่อมต่อด้วยบัส I2C
    • ปริมาณทางไฟฟ้าที่วัดได้ นอกจากการวัดกระแส (เรียกว่า Shunt Current) เช่น แรงดันไฟฟ้าได้ด้วย (เรียกว่า Bus Voltage) และนำไปคำนวณเป็นกำลังไฟฟ้า(Power)
  • ข้อสังเกต:
    • ไอซีบางรุ่น ได้รวมตัวต้านทาน Current Sense Resistor ไว้ภายในแล้ว
    • ไอซีบางรุ่น ทำงานแบบดิจิทัล สามารถตั้งค่าอัตราขยาย (Programmable Gain) และเลือกช่วงแรงดันอินพุต V_SENSE ได้ รวมถึงความสามารถในการตั้งค่าปรับแก้ตัวเลข (Calibration)
  • ตัวอย่างพารามิเตอร์สำหรับการเลือกใช้ไอซี CSA:
    • Low input offset volage: <100μV
    • Low gain error: <0.5%
    • Wide input common mode range: >30V
    • Low supply current: <100μA
    • High CMRR: >100dB

MAX4080 (Maxim / ADI)

  • Current sensing: High-side, Unidirectional
  • Output type: Buffered voltage output (analog)
  • Output impedance: 0.1Ω
  • Supply voltage (): +4.5V ~ +76V
  • Quiescent current (): 190μA (max)
  • Common-mode voltage (): +4.5V ~ +76V
  • Input offset voltage (): ±100μV (typ.)
  • Gain accuracy: ±1.0% (max)
  • Full-scale sense voltage (max): 100mV (F), 250mV (T), 1000mV (S)
  • Fixed gain: 5V/V (F), 20V/V (T), 60V/V (S)
  • Common-mode rejection ratio (CMRR): 124dB (typ.)
  • Bandwidth (BW): 250kHz (typ.)

INA169 (TI)

  • Current sensing: High-side, Unidirectional
  • Output type: Current output (analog)
  • : +2.7V ~ +60V
  • : 60μA (typ.), 125µA (max)
  • : +2.7V ~ +60V
  • : ±200μV (typ.), ±1mV (max)
  • Gain accuracy: ±0.5% (typ.)
  • Full-scale sense voltage (max): 100mV (typ.), 500mV (max)
  • Transconductance: 1mA/V (typ.)
  • External resistor for output:
  • Voltage output:
  • CMRR: 115 dB (typ.)
  • BW: 440kHz (typ.), =10kΩ
  • IC package: 5-Pin, SOT-23

INA219B (TI)

  • Current sensing: High-side, Bidirectional
  • Output type: I2C (digital)
  • : +3V ~ +5.5V
  • : 700μA (typ.)
  • : 0V ~ +26V
  • : ±10μV (typ.) for PGA=/1
  • Programmable gain: GPA=/1,/2,/4,/8
  • Sense voltage (max): ±40mV (/1), ±80mV (/2), ±160mV (/4), ±320mV (/8)
  • Gain accuracy: ±0.5% (max)
  • CMRR: 120dB (typ.)
  • ADC resolution: 9 ~ 12 bits
  • ADC conversion: 586 μs (max) for 12 bits
  • Voltage measurement: Input voltage multiplexing
    • Shunt voltage:
    • Bus voltage: (no VBUS pin)
  • On-chip calculation:
    • Current (I)
    • Power (P)
  • Current measurement error: ±0.2% (typ.)
  • Bus voltage measurement error: ±0.2% (typ.)
  • I2C clock:
    • Fast mode: 1kHz ~ 400kHz
    • High-speed mode: 1kHz ~ 2.56MHz
  • I2C slave address: 0x40 (default: A0=A1=0)
  • I2C address pins: A0 & A1
  • IC package: 8-Pin SOT-23 and 8-Pin SOIC

INA226 (TI)

  • Current sensing: High-side, Bidirectional
  • Output type: I2C (digital)
  • : +2.7V ~ +5.5V
  • : 420μA (max)
  • : 0V ~ +36V
  • Shunt voltage offset: ±10μV (max)
  • Bus voltage offset: ±7.5mV (max)
  • Shunt voltage (max): ±81.92mV (full-scale input range)
  • Bus voltage (max): +36V
  • Fixed gain
  • Gain accuracy: ±0.1% (max)
  • CMRR: 140dB (typ.)
  • ADC front-end: Delta-Sigma (ΔΣ)
  • ADC resolution: 9 ~ 16 bits
    • ADC conversion: 9.068 ms (max) for 16 bits
  • Voltage measurement: Input-voltage multiplexing
    • Shunt voltage
    • Bus voltage (single-ended): via VBUS pin
  • On-chip calculation:
    • Current (I)
    • Power (P)
  • I2C clock:
    • Fast mode: 1kHz ~ 400kHz
    • High-speed mode: 1kHz ~ 2.94MHz
  • I2C slave address: 0x40 (default: A0=A1=0)
  • I2C address pins: A0 & A1
  • Alert function & pin

INA228 (TI)

  • Current sensing: High-side, Low-side, Bidirectional
  • : +2.7V ~ +5.5V
  • : 750μA (max)
  • : –0.3V ~ +85V
  • Shunt voltage input full-scale range:
    • 163.84mV (ADCRANGE=0)
    • 40.96 mV (ADCRANGE=1)
  • Shunt offset voltage: ±0.3µV (typ.)
  • VBUS offset voltage (via VBUS pin): ±1mV (typ.)
  • Shunt voltage gain error: ±0.05% (max)
  • VBUS voltage gain error: ±0.05% (max)
  • Voltage measurement: Input multiplexing
    • Shunt voltage:
    • Bus voltage: (via VBUS pin)
  • On-chip calculation:
    • Current (I)
    • Power (P)
    • Energy (E)
  • ADC front-end: Delta-Sigma (ΔΣ) ADC
  • ADC resolution: 9 ~ 20 bits
  • Alert function & pin
  • I2C Clock:
    • Fast mode: 1kHz ~ 400kHz
    • High-speed mode: 1kHz ~ 2.94MHz
  • I2C slave address: 0x40 (default: A0=A1=0)
  • I2C address pins: A0 and A1
  • Alert function & pin
  • IC package: 10-Pin VSSOP

INA260 (TI)

  • Current sensing: High-side, Low-side, Bidirectional
  • Output type: I2C (digital)
  • : +2.7V ~ +5.5V
  • : 310μA (typ.)
  • : 0V ~ +36V
  • Integrated current sense resistor: 2mΩ (±0.1%)
  • Total package resistance: 4.5mΩ (between the IN+ and IN- pins)
  • Sense current (max): ±15A
  • Bus offset voltage: ±1.25mV (typ.)
  • Current sense offset: ±1.25mA (typ.)
  • System current sense gain error: 0.15% (max)
  • Bus voltage gain error: 0.1% (max)
  • CMRR: 150µA/V (max)
    • 2mΩ x 150µA/V = 0.3μV/V => CMRR = 130dB
  • ADC front-end: Delta-Sigma (ΔΣ) ADC
  • ADC resolution: 9 ~ 16 bits
    • ADC conversion: 9.068ms (max) for 16 bits
    • Current: 1.25mA / LSB
    • Bus voltage: 1.25mV / LSB
    • Power: 10mW / LSB
  • I2C slave address: 0x40 (default: A0=A1=0)
  • I2C address pins: A0 & A1
  • Alert function & pin
  • IC package: 16-pin TSSOP

TI INA240

  • Current sensing: Bidirectional, Low-side, High-side, Inline
  • Output type: Voltage
  • Enhanced PWM rejection: Reducing common-mode transients
  • : +2.7V ~ 5.5V
  • : 2.6mA (max)
  • : –4V to +80V
  • : ±25μV (max)
  • Max. output voltage:
  • Gain options:
    • 20V/V (A1), 50V/V (A2), 100V/V (A3), 200V/V (A4)
  • Gain accuracy: +/-0.2% (max)
  • CMRR: 132dB DC (typ), 93dB AC (f=50kHz)
  • VREF pins: REF1 & REF2
  • BW: 400kHz (typ)
  • IC package: 8-pin TSSOP & 8-pin SOIC

ไอซี CSA แต่เดิมมักใช้วงจร Op-Amp + Resistor Network แบบพื้นฐาน แต่เพื่อให้สามารถวัดกระแสได้แม่นยำมากขึ้นในระบบที่ซับซ้อน เช่น รองรับแรงดันอินพุตระดับสูง (High Common-Mode Input Range) หรือ ต้านทานสัญญาณรบกวนจากการใช้สัญญาณแบบ PWM หรือ สัญญาณที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Switching Transients) ได้ดีขึ้น ผู้ผลิตจึงได้พัฒนาเทคนิควงจรใหม่ ๆ เช่น


▷ แนวทางการสร้าง Differential Amplifier ด้วยออปแอมป์#

ในการเรียนรู้หลักการทำงานของวงจรขยายสัญญาณผลต่าง สามารถสร้างวงจรโดยใช้ออปแอมป์ 1 ตัว และตัวต้านทานอีก 4 ตัว และนำมาศึกษา เช่น การวิเคราะห์วงจร การจำลองการทำงานของวงจร รวมถีงการทดลองจริงโดยการต่อวงจรบนเบรดบอร์ด

รูป: แนวทางการสร้างวงจรขยายสัญญาณผลต่าง โดยใช้ไอซีออปแอมป์ และตัวต้านทาน 4 ตัว โดยจำลองสถานการณ์การชาร์จแบตเตอรี่ โดยมีแบตเตอรี่เป็นโหลดไฟฟ้า และอุปกรณ์ชาร์จเป็นแหล่งจ่ายกระแส

รูป: ไอซีที่มีวงจรขยายสัญญาณผลต่างและมีขา REF สำหรับ Reference Voltage (ถ้าไม่ใช้ ให้ต่อขา REF กับ GND)

จากรูปตัวอย่าง วงจรนี้ประกอบด้วยออปแอมป์ 1 ตัว และตัวต้านทาน 4 ตัว ได้แก่ , , และ (โดยทั่วไปแล้ว ไอซีมักจะร่วมตัวต้านทานที่มีความแม่นยำสูงไว้ด้วยในตัวถัง) การต่อวงจรออปแอมป์ในลักษณะนี้ มักเรียกว่า Difference Amplifier (Subtractor) Circuit ซึ่งเป็นการหาผลต่าง และสามารถขยายสัญญาณผลต่างได้ด้วย เพื่อใช้เป็นเอาต์พุต

ถัดไปเป็นการกำหนดสัญลักษณ์ต่อไปนี้ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์วงจร

  • และ แรงดันที่ปลายทั้งสองของตัวต้านทาน
  • และ แรงดันที่ขา Non-inverting (+) และ Inverting Input (-) ของออปแอมป์
  • แรงดันเอาต์พุตของออปแอมป์

การต่อวงจรใช้งานออปแอมป์ มีลักษณะที่เรียกว่า Negative Feedback Configuration มีตัวต้านทาน เชื่อมต่อระหว่างขา (-) และขาเอาต์พุต และจะทำให้ระบบเข้าสู่สภาวะสมดุล เมื่อ

ดังนั้นในการวิเคราะห์วงจร จะให้เงื่อนไขต่อไปนี้

  • ให้กระแสไหล ผ่านตัวต้านทาน ไปยังโหลดในทิศทางเดียว เกิดแรงดันตกคร่อม ที่ตัวต้านทานดังกล่าว และ
  • อินพุตอิมพีแดนซ์ (Input Impedance) ของออปแอมป์สูงมาก ๆ มีกระแสไหลเข้าที่ขา (+) และ (-) น้อยมาก ๆ ใกล้เคียงศูนย์ ดังนั้นในการวิเคราะห์วงจร ไม่ต้องพิจารณากระแสที่ไหลเข้าขาออปแอมป์
  • แรงดันที่ขา (+) และ (-) ของออปแอมป์ ให้ถือว่า เท่ากัน (เรียกว่า Virtual Short) และให้เท่ากับ
  • แรงดันไฟเลี้ยงของออปแอมป์ และ อยู่ในช่วงที่กว้างว่า แรงดันเอาต์พุต และแรงดันอินพุตอยู่ในช่วงแรงดัน Common-Mode ของออปแอมป์

เนื่องจาก จึงเขียนสมการใหม่ได้ดังนี้

จากสมการข้างต้น สามารถหาสมการที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันอินพุตและเอาต์พุตได้ดังนี้

Common-Mode Voltage () และ Differential Voltage ():

ดังนั้นสมการสำหรับ ที่มีอินพุตเป็น และ เขียนได้ดังนี้

หรือเขียนให้อยู่ในรูปของการขยายสัญญาณในโหมดร่วม และโหมดต่าง และคำนวณหาค่า CMRR จากอัตราขยายของสัญญาณ Differential-Mode () และอัตราขยายของสัญญาณ Common-Mode ()

ถ้าเลือกค่าความต้านทานตามเงื่อนไข Matched Resistor Ratio:

จะได้สมการสำหรับแรงดันเอาต์พุต

ซึ่งจะเห็นได้ว่า แรงดันเอาต์พุต เกิดจากการขยายสัญญาณผลต่างของแรงดันอินพุต โดยอัตราขยายคงที่ ซึ่งกำหนดโดยค่าของตัวต้านทาน หรือเขียนให้อยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างกระแสอินพุตและแรงดันเอาต์พุตได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ ค่าตัวต้านทานอาจความคลาดเคลื่อน และส่งผลต่อสัญญาณเอาต์พุต โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการวัดสัญญาณที่มีค่าน้อย ๆ ในช่วงมิลลิโวลต์

ถ้าให้ และ โดยที่ (Mismatched Resistor Ratio)

จะคำนวณหาค่า CMRR ที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนของค่าความต้านทาน ดังนี้

ยกตัวอย่างเช่น ถ้า และ (ความคลาดเคลื่อน +/-0.1%) จะได้ค่า CMRR = 60.83 dB

 


กล่าวสรุป#

บทความนี้ได้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับแนวทางการเลือกใช้งานไอซีประเภท Current-Sense Amplifiers (CSA) เพื่อนำมาใช้ในการวัดกระแสไฟฟ้าในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ศึกษาและวิเคราะห์การใช้พลังงานของวงจร หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

 


This work is licensed under a Creative Commons Attribution-ShareAlike 4.0 International License.

Created: 2025-05-09 | Last Updated: 2025-05-12